Home Blog การเดินขึ้นลงบันไดในโรงงานควรกำหนดอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย

การเดินขึ้นลงบันไดในโรงงานควรกำหนดอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย

by Nellie Mcdonalid
340 views
1.การเดินขึ้นลงบันไดในโรงงานควรกำหนดอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย

เดินขึ้นลงบันไดอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

เมื่อพูดถึงบันไดคงไม่มีใครไม่รู้จักเพราะเราสามารถเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยอาคารเรียนโรงงานห้างสรรพสินค้าหรือตามสถานที่ต่างๆ

ซึ่งแต่ละสถานที่ก็จะมีรูปร่างของบันไดที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งานนอกจากบันไดจะเป็นส่วนประกอบของอาคารที่เราใช้ประโยชน์แล้วหากไม่ใช้ด้วยความระมัดระวังก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุในระหว่างขึ้นลงบันไดได้ เช่นกัน

การออกแบบบันไดตามกฎหมาย

กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดรูปแบบของบันไดของอาคารต่างๆ ไว้ ในที่นี้ เราจะพูดถึงบันไดโรงงาน ซึ่งกำหนดไว้ ดังนี้

บันไดของโรงงาน สำหรับที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องมี

ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร แต่สำหรับบันไดของอาคารที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถ้าความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อย 2 บันได แต่ละบันไดต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร

บันไดของอาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น บันไดห้องประชุมหรือห้องบรรยาย ที่มีพื้นที่รวมกัน

ตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดห้องรับประทานอาหาร หรือสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดของแต่ละชั้นของอาคารนั้น ที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร อย่างน้อย 2 บันได ถ้ามีบันไดเดียวต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร

บันไดที่สูงเกิน 4 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 4 เมตร หรือน้อยกว่านั้นและระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือ

ชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างสุทธิของบันได เว้นแต่บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 2 เมตร ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดจะมีความยาวไม่เกิน 2 เมตรก็ได้

บันไดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อม

กันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร และต้องมีราวบันไดกันตก บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 6 เมตรและช่วงบันไดสูงเกิน 1 เมตรต้องมีราวบันไดทั้งสองข้างบริเวณจมูกบันไดต้องมีวัสดุกันลื่น

หากต้องการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดสามารถดูได้จากกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522

2.อันตรายจากการเดินขึ้นลงบันได

อันตรายจากการเดินขึ้นลงบันได

การเดินขึ้นลงบันได ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันย่อมมีอันตรายแฝงอยู่เสมอ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของอันตรายจากการเดินขึ้นลงบันได ตามความเห็นของผู้เขียนได้ดังนี้

  • อันตรายจากการตกบันได เช่น วิ่งขึ้นลงบันได เดินไม่จับราวบันได เป็นต้น
  • อันตรายจากการลื่นล้ม เช่น มีน้ำหรือของเหลว หกบนพื้นบันได 
  • อันตรายจากการสะดุด เช่น เดินเล่นโทรศัพท์ ไม่มองทางจึงสะดุดขอบบันได

ซึ่งอันตรายอาจมาในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น คนที่มีโรคประจำตัว หากเดินขึ้นลงบันไดสูงๆ ก็อาจส่งผลให้ อาการที่เป็นอยู่กำเริบได้ และตกลงมาศีรษะฟาดพื้น หรือขาหัก ซึ่งจากที่กล่าวมา การขึ้นลงบันได หากไม่มีความระมัดระวังแล้ว อาจส่งผลต่อชีวิตของผู้ใช้ด้วยเช่นกัน

3.การป้องกันอันตรายจากการเดินขึ้นลงบันได มีหลายวิธีด้วยกัน

การป้องกันอันตรายจากการเดินขึ้นลงบันได

เราสามารถป้องกันอันตรายจากการเดินขึ้นลงบันไดได้ ซึ่งการป้องกันอันตรายมีหลายวิธีด้วยกัน 

การออกแบบบันได

ความปลอดภัยในการเดินขึ้นลงบันได ต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ หากเราออกแบบบันไดมา ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย ย่อมส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานด้วยเช่นกัน เช่น ความกว้าง ความสูงของบันไดแต่ละขั้น จุดพักบนบันได การติดตั้งราวกันตก เป็นต้น 

แสงสว่าง

แสงสว่างบริเวณทางเดิน เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากหากแสงสว่างน้อยเกินไป อาจทำให้การ มองเห็นไม่ดีพอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะเดินขึ้นลงบันไดได้เช่นกัน และยังต้องคำนึงถึงค่าแสงสว่างในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย ซึ่งต้องมีการติดตั้งไฟส่องสว่างฉุกเฉินบริเวณทางเดินเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับ

การทำความสะอาดบริเวณบันได

เรื่องความสะอาดบริเวณบันได ต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะหากไม่มีการทำความสะอาด หรือความถี่ในการ ทำไม่เพียงพอ ก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น มีน้ำหกบนพื้นของบันได คนที่เดินขึ้นลงบันได อาจเหยียบน้ำทำให้ลื่นและตกบันไดได้

การติดสัญลักษณ์บริเวณบันได

การติดป้ายเตือน สัญลักษณ์ ทำให้การใช้บันไดมีความชัดเจนมากขึ้น เช่นการติดลูกศรชี้ให้เห็นว่าขึ้นลง บันไดต้องชิดข้างไหน การติดเทปกันลื่นสะท้อนแสง เพื่อป้องกันลื่นที่ขั้นบันได และทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน การติดป้ายให้จับราวบันได เป็นต้น

ข้อกำหนดในการขึ้นลงบันได

เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และชัดเจนมากขึ้น ในการเดินขึ้นลงบันได ทำให้หลายบริษัทกำหนดเป็นกฎความปลอดภัยในการเดินขึ้นลงบันไดขึ้นมา เพื่อให้พนักงานทุกคนใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเดียวกัน 

เช่น ขึ้นลงบันได ต้องจับราวบันได ชิดขวา ห้ามวิ่ง และห้ามใช้โทรศัพท์ในขณะขึ้นลงบันได เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และต้องควบคุมดูแลให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตาม

สรุป

บันได เป็นสิ่งที่เราใช้ขึ้นลง เชื่อมต่อระหว่างชั้นของอาคาร ซึ่งการออกแบบบันได ต้องอ้างอิงตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดของบันไดตามประเภทอาคารไว้ นอกจากการออกแบบต้องเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย บริษัทต้องกำหนดกฎในการทำงานบนที่สูง หรืองานกับบันไดขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่ทำงานใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน

เกี่ยวกับเรา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่คุณสามารถค้นหาบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่สามารถอ่านได้ฟรี! และมีการอัปเดตเนื้อหาใหม่ทุกๆวัน 

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by kentvalentine