Home ข่าว การใช้หุ่นยนต์ฝึกเดินโดยกรมการแพทย์ เพื่อช่วยเร่งความรวดเร็วในการฝึกเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท

การใช้หุ่นยนต์ฝึกเดินโดยกรมการแพทย์ เพื่อช่วยเร่งความรวดเร็วในการฝึกเดินของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท

by Nellie Mcdonalid
8 views
1.การใช้หุ่นยนต์

กรมการแพทย์ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic Assisted Gait Training) เข้ามาใช้ในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยทางระบบประสาท เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต

แพทย์หญิง อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ที่ดำเนินนโยบายสำคัญและเร่งด่วน Quick Win ของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็น High Medical Technology เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคต่างๆ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมแพทย์มีภารกิจดูแล รักษาและฟื้นฟูด้านร่างกาย ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการแพทย์มาปฏิรูประบบการทำงานของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุและคนพิการไทยได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง

เครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic Assisted Gait Training)

เทคโนโลยีที่ใช้เพิ่มการทรงตัวและความมั่นคงในขณะเดินให้แก่ผู้ป่วย คนพิการ โดยกรมการแพทย์มีการนำมาใช้ใน 2 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่

แพทย์หญิงภัทรา อังสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อธิบายเพิ่มเติมว่า การฝึกเดินด้วยเครื่องหุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic assisted gait training) เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวเรื่องการเดิน ใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ และผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะได้ฝึกเดินบนสายพานเลื่อนที่มีโครงพยุงน้ำหนักตัวและมีขาของหุ่นยนต์ปะกบกับขาของผู้ป่วย ซึ่งขาของหุ่นยนต์จะขับเคลื่อนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่า เพื่อให้ผู้ป่วยเดินได้โดยใช้จังหวะและท่าทางการเดินคล้ายธรรมชาติ

ซึ่งคล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน มีความถูกต้องตามรูปแบบการเดินมากที่สุด ปลอดภัย และสามารถฝึกฝนซ้ำ ๆ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วย สามารถพัฒนารูปแบบการเดินและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับการทรงตัวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน มีความถูกต้องตามรูปแบบการเดินมากที่สุด ปลอดภัย และสามารถฝึกฝนซ้ำ ๆ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้การเคลื่อนไหวทำให้ผู้ป่วย สามารถพัฒนารูปแบบการเดินและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาได้มากขึ้น

2.การใช้หุ่นยนต์

การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน

ทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้การเคลื่อนไหวและพัฒนาการเดินได้มากขึ้น ซึ่งการฝึกเดินนี้จะมีผลที่ชัดเจนหลังจากการรักษาครั้งละ 12-20 ครั้ง โดยการฝึกเดิน 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ได้นำเทคโนโลยี Robotic Assisted Gait Training มาให้บริการเป็นแห่งแรกในภาคเหนือ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงเป็นอันดับ 1 จาก  5 อันดับของโรคทางระบบประสาท ในพื้นที่นี้สามารถเข้าถึงและรับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ..2562 จนถึง ณ ปัจจุบัน มีผู้รับบริการ รวมทั้งสิ้น 2,391 ครั้ง และผู้รับบริการมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 97

ทั้งนี้ การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัดมีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับมาเดินได้เองมากกว่าการฝึกทางกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว และทำให้การทรงตัวดีขึ้น นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บ ไขสันหลัง ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ มีผลทำให้การทรงตัวในการยืนและการย้ายตัวของผู้ป่วยดีขึ้น

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.pptvhd36.com/health/news/4366

เกี่ยวกับเรา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ของเรา ที่นี่คุณสามารถค้นหาบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่สามารถอ่านได้ฟรี! และมีการอัปเดตเนื้อหาใหม่ทุกๆวัน 

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by kentvalentine